25.10.2023 Views

ASA JOURNAL 14/2023

Create successful ePaper yourself

Turn your PDF publications into a flip-book with our unique Google optimized e-Paper software.

64<br />

theme / review<br />

ท่ามกลางพื้นที่ราบลุ่มที่อุดมสมบูรณ์โอบล้อม<br />

ไปด้วยแนวทิวเขา ของตำาบลห้วยทราย อำาเภอ<br />

สันกำาแพง จังหวัดเชียงใหม่ เรือนไม้หลังหนึ่ง<br />

ถูกปลูกขึ้นร่วมกับภูมิทัศน์ของสวนกล้วยและ<br />

พืชผักสวนครัว อาคารไม้ขนาดสองชั้นหลังนี้<br />

ถูกสร้างขึ้นด้วยความเคารพต่อภูมิปัญญาการใช้<br />

ไม้ผ่านการเรียนรู้จากช่างท้องถิ่นสถาปัตยกรรม<br />

ที่ให้ความสำาคัญต่อการทดลองถึงความเป็นไป<br />

ได้ใหม่จากแรงบันดาลใจของงานสถาปัตยกรรม<br />

พื้นถิ่นมาสู่การออกแบบร่วมสมัย เรือนไม้หลัง<br />

นี้คือ “บ้านทิตา” ผลงานของ คุณเท่ง-เดโชพล<br />

รัตนสัจธรรม สถาปนิกจากยางนาสตูดิโอ<br />

“โครงการนี้เหมือนโครงการทดลองที่เรานำาเอา<br />

ทักษะและความรู้เชิงช่างที่ได้สั่งสมมาจากการ<br />

ทำางานไม้ตลอดระยะเวลาการทำางานออกแบบ<br />

สถาปัตยกรรมมาประกอบรวมกันขึ้นเป็นผลงาน<br />

ชิ้นนี้” คุณเดโชพล กล่าวถึงภาพรวมของโครง-<br />

การบ้านทิตา โดยวัตถุประสงค์แรกที่ทำ าให้เกิด<br />

การก่อสร้างบ้านเกิดขึ้นมาจากความต้องการของ<br />

คนในครอบครัว ที่ต้องการบ้านพักอาศัยรวมกับ<br />

พื้นที่ทำางานออกแบบ ทำากิจกรรม Workshop<br />

และผลลัพธ์ที่ได้มาคือการออกแบบเรือนไม้ที่<br />

ผสมผสานภูมิปัญญาการออกแบบพื้นที่ใช้สอย<br />

จากสถาปัตยกรรมพื้นถิ่น ประกอบรวมเข้ากับ<br />

เทคนิคการก่อสร้างเชิงช่างจากช่างไม้ท้องถิ่น<br />

ในมิติทางสถาปัตยกรรมของบ้านทิตา ผู้ออกแบบ<br />

ให้ความสำาคัญกับการเชื่อมต่อเชิงพื้นที่โดย<br />

ใช้ภูมิปัญญาการจัดสรรพื้นที่ใช้สอยในงาน<br />

สถาปัตยกรรมพื้นถิ่นตามบริบทพื้นที่ตั้ง กล่าวคือ<br />

ออกแบบให้เป็นเรือนไม้ยกพื้นสูงผังพื้นรูปตัว L<br />

และให้ความสำาคัญกับพื้นที่ ชานแดดและชานร่ม<br />

โดยพื้นที่ชานแดดคือพื้นที่ทางเข้าบ้านบริเวณ<br />

ทิศเหนือ ออกแบบไว้เป็นพื้นที่อเนกประสงค์<br />

สำาหรับการทำางาน หรือการทำา Workshop งานไม้<br />

ของยางนา สตูดิโอติดกับพื้นที่รับประทานอาหาร<br />

เมื่อเดินขึ้นบันไดจะเข้าสู่พื้นที่ชานร่ม หรือเติ๋น<br />

ในภาษาเหนือ พื้นชานไม้ตีเว้นร่องเพื่อช่วยให้<br />

ฝุ่นละอองที่ติดมากับขาตกลงไปด้านล่างตาม<br />

ภูมิปัญญาท้องถิ่น พื้นที่ชานที่เชื่อมโยงพื้นที่<br />

ชั้นล่างเข้ากับส่วนชั้นบนนี้ติดตั้งประตูเฟี้ยม<br />

เพื่อสร้างความยืดหยุ่นของการอยู่อาศัย สร้าง<br />

คุณลักษณะกึ่งเปิดโล่ง เชื่อมโยงการเชื่อมต่อ<br />

ทางสายตา รวมถึงทำาให้เกิดการถ่ายเทอากาศ<br />

เพื่อสร้างสภาวะน่าสบายขึ้นภายในพื้นที่ใช้สอย<br />

ของเรือน<br />

ถัดเข้ามาเป็นพื้นที่ครัวของบ้านอยู่ฝั่งทิศตะวัน-<br />

ออก สามารถเข้าได้สองฝั่ง จากทางฝั่งทิศใต้<br />

ทางด้านหลังบ้าน ซึ่งเป็นพื้นที่ที่ผู้ออกแบบ<br />

ปลูกสวนกล้วยเอาไว้ ทางขึ้นบ้านส่วนนี้มีพื้นที่<br />

ล้างเท้าไว้ก่อนขึ้นบันได และเข้าได้จากส่วนชาน<br />

ร่มที่เชื่อมกับพื้นที่อเนกประสงค์ด้านหน้าของ<br />

บ้าน พื้นของครัวในส่วนครัวไฟ และส่วนซักล้าง<br />

ปูพื้นไม้กระดานแบบตีเว้นร่องเช่นเดียวกับส่วน<br />

พื้นชานร่ม ขณะที่พื้นที่ส่วนเตรียมครัวที่เชื่อม<br />

ต่อกับส่วนห้องนั่งเล่นปูไม้กระดานแบบชิดเพื่อ<br />

ให้สอดคล้องกับการใช้สอย บริเวณพื้นที่ส่วน<br />

ครัวผู้ออกแบบได้ออกแบบช่องเปิดในระดับที่<br />

หลากหลาย ทั้งหน้าต่างบริเวณส่วนเตรียมครัว<br />

และซักล้าง รวมไปถึงหน้าต่างในระดับเดียวกับ<br />

พื้นครัว ซึ่งหน้าต่างนี้ถูกใช้เป็นช่องเปิดสำ าหรับ<br />

การหยิบจับส่งวัตถุดิบในการทำาครัว เช่น ผักที่<br />

เด็ดมาจากเรือกสวนด้านข้าง โดยไม่จำาเป็นต้อง<br />

เสียเวลาเดินผ่านตัวบ้านเข้ามาในครัว ในส่วน<br />

ของผนังถูกออกแบบให้เป็นฝาไหลไม้ ที่สร้าง<br />

คุณลักษณะของการใช้สอยได้สองแบบ ในระหว่าง<br />

การทำาครัว ฝาไหลเปิดจะช่วยเอื้อให้เกิดการ<br />

ระบายอากาศ ในช่วงฤดูหนาวหรือในโมงยามที่<br />

ต้องการความเป็นส่วนตัวผู้ใช้สอยสามารถเลื่อน<br />

ปิดกลายเป็นผนังทึบได้ เป็นภูมิปัญญาท้องถิ่น<br />

ที่ปรากฏในงานสถาปัตยกรรมพื้นถิ่น ช่องเปิด<br />

และรูปแบบของฝาไหลของผนังเหล่านี้เกิดขึ้น<br />

จากการทดลองสร้างความเป็นไปได้ของการ<br />

เชื่อมต่อระหว่างพื้นที่จากการใช้สอยจริงของ<br />

ผู้ใช้อาคาร<br />

ทางฟากทิศตะวันตกเป็นพื้นที่ของครอบครัวที่<br />

ยกระดับขึ้นมาจากส่วนนั่งเล่น ก่อนที่จะมีบันได<br />

ยกระดับไปสู่ส่วนพื้นที่ทำ างาน และห้องนอนรวม<br />

ถึงห้องน้ำา โดยผู้ออกแบบใช้พื้นที่เชื่อมต่อของ<br />

ห้องนอน และห้องน้ำาเป็นส่วนพื้นที่ทำางาน<br />

วางโต๊ะทำางานประชิดกับแนวผนังเปิดหน้าต่าง<br />

รับวิวทางฝั่งทิศตะวันตก เป็นพื้นที่ที่ผู้ออกแบบ<br />

จัดภูมิทัศน์ของพื้นที่ปลูกผักสวนครัว และพืช<br />

หมุนเวียนเอาไว้ ทำาให้มองเห็นทัศนียภาพของ<br />

ภูมิประเทศรอบข้างได้ไกลเพิ่มแรงบันดาลใจ<br />

ขณะใช้พื้นที่ทำางาน ส่วนของห้องนอนมีจำานวน<br />

สองห้องถูกแบ่งออกในแนวแกนทิศเหนือและ<br />

ทิศใต้ ออกแบบเป็นผนังแป้นเกล็ด ห้องน้ำ าอยู่<br />

มุมอาคารฝั่งทิศใต้<br />

ในส่วนของวัสดุของโครงการ ผู้ออกแบบใช้การ<br />

สะสมรวบรวมไม้เก่าสำาหรับโครงสร้างในส่วน<br />

ต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นเสา คาน ตง หรือโครงสร้าง<br />

หลังคา โดยในขั้นตอนการก่อสร้างใช้ทีมงาน<br />

ของยางนาสตูดิโอ ซึ่งมีทั้งสถาปนิก ช่างท้องถิ่น<br />

รวมทั้งหมด 20 คน ลงแขกกันประกอบโครง-<br />

สร้างหลักของบ้าน ตั้งแต่วางเสาลงบนตอม่อปูน<br />

จนถึงการเข้าสลักโครงสร้างหลังคา แล้วเสร็จ<br />

ภายใน 1 วัน ก่อนจะค่อยๆ ทำาในส่วนอื่นของ<br />

สถาปัตยกรรมในเวลาต่อมา ในส่วนของวัสดุมุง<br />

ผู้ออกแบบเลือกใช้แป้นเกล็ดไม้เก่าจากร้าน<br />

รับขายไม้เก่า เมื่อพิจารณาถึงการเลือกใช้วัสดุ<br />

และการออกแบบภูมิทัศน์โดยรอบ จะพบว่า<br />

ผู้ออกแบบคำานึงถึงความสำาคัญของการออกแบบ<br />

ที่คำานึงถึงวงจรชีวิต (Life Cycle) ของวัสดุก่อ-<br />

สร้างไม้ในงานออกแบบ เพื่อให้โครงการบรรลุ<br />

ประโยชน์สูงสุดในการสร้างสถาปัตยกรรม<br />

ที่สอดคล้องกับความยั่งยืนให้มากที่สุด ผ่าน<br />

ภูมิปัญญาที่ได้สะสมรวบรวมเอาไว้<br />

เมื่อกล่าวถึงมิติของการใช้งานไม้ในการออกแบบ<br />

สถาปัตยกรรม ผลงานบ้านทิตาได้สนทนาถึง<br />

ความสำาคัญขององค์ความรู้เชิงช่าง ของช่างไม้<br />

ท้องถิ่น ผ่านการแสดงออกจากการสนทนา<br />

ของไม้ต่อผู้ใช้สอยสถาปัตยกรรม บทสนทนา<br />

ที่อนุญาตให้ไม้สามารถสื่อสารตัวของมันเองได้<br />

“ในบางครั้งการแปรรูปไม้ในปัจจุบันที่อาศัย<br />

เทคโนโลยีขั้นสูง ทำาให้เกิดความเนี้ยบขึ้นกับ<br />

งานไม้ แต่ในทางกลับกันมันอาจทำาให้ไม้ขาด<br />

มนต์สเน่ห์ เพราะสเน่ห์ของไม้คือความเป็นไม้<br />

ความเป็นธรรมชาติในตัวมันเอง การแปรรูปไม้<br />

ด้วยภูมิปัญญาท้องถิ่น จากช่างท้องถิ่น ผ่านการ<br />

ถากไม้ การไสไม้ มันเป็นการด้น (improvise)<br />

ไม้ที่เป็นสเน่ห์” คุณเดโชพลกล่าวเสริมถึงการ<br />

ให้ความสำาคัญต่อการแปรรูปไม้ผ่านภูมิปัญญา<br />

ท้องถิ่นที่ปรากฏอยู่ในโครงการบ้านทิตา และ<br />

รวมถึงโครงการอื่นๆ ของยางนาสตูดิโอ<br />

การอนุญาตให้ไม้ได้แสดงความเป็นธรรมชาติ<br />

ปรากฏผ่านพื้นผิว การเข้าไม้ การบากเจาะ ฯลฯ<br />

เป็นคุณสมบัติที่เกิดขึ้นจากการสั่งสมองค์ความรู้<br />

ที่ยางนาสตูดิโอทดลองการใช้ไม้มาโดยตลอด<br />

และโครงการบ้านทิตา เป็นหนึ่งในความพยายาม<br />

สร้างความสมดุลระหว่างการสร้างสุนทรียศาสตร์<br />

ทางสถาปัตยกรรมของงานไม้ กับแนวทางการ<br />

ออกแบบสถาปัตยกรรมที่ยั่งยืนท่ามกลางทาง<br />

เลือกในการใช้วัสดุก่อสร้างในงานสถาปัตยกรรม<br />

ที่ทวีความหลากหลายให้แก่นักออกแบบได้<br />

เลือกใช้

Hooray! Your file is uploaded and ready to be published.

Saved successfully!

Ooh no, something went wrong!