25.10.2023 Views

ASA JOURNAL 14/2023

Create successful ePaper yourself

Turn your PDF publications into a flip-book with our unique Google optimized e-Paper software.

134<br />

materials<br />

หดลีบลงตามลำาดับ จึงทำาให้เริ่มเกิดการเปลี่ยนแปลงทางขนาดและ<br />

รูปทรงขึ้นนอกเหนือจากการเปลี่ยนแปลงของน้ำาหนัก กระบวนการ<br />

คายน้ำา/แลกเปลี่ยนน้ำาและความชื้นกับสภาพแวดล้อมของไม้ยังคง<br />

ดำาเนินต่อไปจนถึงจุดที่สมดุลกับ EMC-Equilibrium moisture content<br />

ค่าความชื้นสมดุลซึ่งแปรผันกับอุณหภูมิ T-Temperature และความชื้น<br />

สัมพัทธ์ในอากาศ RH-Relative humidity ที่มีการเปลี่ยนแปลงอยู่<br />

ตลอดเวลาซึ่งหมายความว่าไม้จะมีการแลกเปลี่ยนความชื้นในเนื้อไม้<br />

MC-Moisture content แปรผันตาม EMC ค่าความชื้นสมดุลนี้ตลอด<br />

เวลา ซึ่งแม้ว่า EMC ค่าความชื้นสมดุลนี้จะเปลี่ยนแปลงแปรผันตาม<br />

อุณหภูมิและความชื้นสัมพัทธ์ในอากาศบริเวณนั้นแล้วยังมีปัจจัยแวดล้อม<br />

ด้านสภาพแวดล้อมจำาเพาะร่วมซึ่งมีผลร่วมด้วยในการแลกเปลี่ยน<br />

ความชื้นของไม้กับสภาพแวดล้อม อาทิ ความเร็วลม แสงธรรมชาติ<br />

การทาสารเคลือบผิว ฯลฯ<br />

ปัญหาที่แท้จริงของน้ำาและความชื้นที่ส่งผลต่อวัสดุไม้ไม่ใช่การคายน้ำา<br />

หรือแลกเปลี่ยนความชื้นกับสภาพแวดล้อมหากกระบวนการนั้นอยู่ใน<br />

เงื่อนไขที่เหมาะสม ยกตัวอย่างเช่น บริเวณหน้าตัดขวางของไม้ซึ่งเป็น<br />

ปลายเปิดของท่อลำาเลียงน้ำา/อาหารและช่องว่างระหว่างเซลล์จะคายน้ำา<br />

ได้ดีมากกว่าบริเวณผิว ดังนั้นไม้ขนาดหน้าตัดใหญ่และมีความยาวใน<br />

ระยะหนึ่ง เมื่อมีการคายน้ำาบริเวณหน้าตัดรวดเร็ว ทำาให้ค่าความชื้น<br />

บริเวณนั้นลดลง ขณะที่ส่วนอื่นมีค่าความชื้นสูงกว่ามาก การเปลี่ยนแปลง<br />

ทางขนาดของพื้นที่ซึ่งมีค่าความชื้นแตกต่างกันสูงที่ไม่สมดุลกันจึงทำา<br />

ให้เกิดการแตกร้าวที่ปลายไม้ End check ทั้งนี้หากทำาการทาสารเคลือบ<br />

ซึ่ง block การคายน้ำาหรือแลกเปลี่ยนความชื้นบริเวณปลายไม้โดย<br />

สมบูรณ์ ความชื้นในเนื้อไม้ก็จะถูกผลักดันออกทางผิวทำาให้เกิดการ<br />

แตกร้าวบริเวณผิว Surface check เกิดเป็นปัญหาใหม่ขึ้น เป็นต้น จึง<br />

เป็นที่เข้าใจได้ชัดเจนว่า การอบไม้เป็นหนึ่งในกรรมวิธีเตรียมวัสดุไม้<br />

ให้มีความชื้นลดลง(แห้ง) ภายใต้สภาวะควบคุมเพื่อแก้ป้องกันความ<br />

เสียหายจากกระบวนการคายน้ำา/แลกเปลี่ยนความชื้นตามธรรมชาติ<br />

ยังมีกรรมวิธีอื่นในการทำาให้ความชื้นในเนื้อไม้ลดลงภายใต้สภาวะ<br />

ควบคุมนอกเหนือจากการอบไม้ในตู้ไอร้อน 17 เช่น การผึ่งลมภายใต้<br />

ร่มเงา 18 การใช้กระแสลมจากเครื่องกลไหลผ่าน เป็นต้น ดังนั้นจึงคลี่คลาย<br />

ข้อสังเกตดังกล่าวได้ว่า “ไม้ควรมีความชื้นที่เหมาะสมจากการเตรียม<br />

ไม้ก่อนนำามาใช้งานไม่ว่าจะโดยกรรมวิธีใดก็ตามในกระบวนการนั้น”<br />

(กรรมวิธีการทำาให้ความชื้นในเนื้อไม้ลดลงนั้นจำาเป็นต้องพิจารณาปัจจัย<br />

พื้นฐานของวัสดุไม้ร่วมด้วยเสมอ อาทิ ขนาดหน้าตัดและความยาวไม้<br />

เพื่อป้องกันความเสียหายในระหว่างกระบวนการนั้น) เมื่อเข้าใจเช่นนี้<br />

ก็จะนำามาสู่ความเข้าใจในลำาดับต่อไปว่าเมื่อเตรียมไม้โดยลดค่าความชื้น<br />

ภายใต้สภาวะควบคุมได้จนใกล้เคียงค่าความชื้นสมดุล EMC ในสภาพ-<br />

แวดล้อมของสถานที่ทำางานต่างกันแล้วจึงปล่อยให้ไม้แลกเปลี่ยนความ<br />

ชื้นตามธรรมชาติในสภาพแวดล้อมนั้นๆ ในระยะเวลาหนึ่งก่อนนำามา<br />

ใช้งานก็จะเกิดปัญหาในการเปลี่ยนแปลงทางขนาดและรูปทรงได้มาก<br />

การไสปรับขนาด การติดตั้ง การตกแต่งผิว และการทำางานอื่นๆ ภาย<br />

หลังจากกระบวนการนี้ย่อมได้ประสิทธิภาพและคุณภาพของงานสูงขึ้น<br />

5<br />

Photo Reference<br />

5-6. Suntan Viengsima / Sansuda Jiamjit

Hooray! Your file is uploaded and ready to be published.

Saved successfully!

Ooh no, something went wrong!