25.10.2023 Views

ASA JOURNAL 14/2023

Create successful ePaper yourself

Turn your PDF publications into a flip-book with our unique Google optimized e-Paper software.

30<br />

around<br />

Curator Presentation on<br />

“The Story behind Infinity Ground—Thailand and<br />

Taiwan Contemporary Architecture Exhibition”<br />

and Infinity Ground Dialogue<br />

July 18, <strong>2023</strong><br />

กุลธิดา ทรงกิตติภักดี และ Jenchieh (Jerry) Hung สอง<br />

สถาปนิกผู้ก่อตั้งบริษัท HAS ซึ่งรับหน้าที่เป็นภัณฑารักษ์<br />

หลักของนิทรรศการในครั้งนี้ ได้กล่าวถึงแนวความคิด<br />

เบื้องต้นเมื่อได้รับโจทย์ให้การออกแบบงานนิทรรศการ<br />

Infinity Ground โดยทางทีมผู้ออกแบบได้รับแรงบันดาลใจ<br />

มาจากแสงที่ส่องผ่านช่องแสงของหลังคา BACC ลงสู ่พื ้น<br />

ชั้นใต้ดิน ซึ่งเป็นพื้นที่จัดนิทรรศการ ด้วยเห็นว่าเป็นลักษณะ<br />

ร่วมที่พบได้บ่อยทั้งในงานสถาปัตยกรรมไทยและไต้หวัน<br />

ตัวอย่างเช่น ในโบสถ์ของวัดศรีชุม จังหวัดสุโขทัย และงาน<br />

สถาปัตยกรรมอีกหลายๆ แห่งในไต้หวัน ซึ ่ง Jerry ได้ตั้ง<br />

ข้อสังเกตถึง “ผืนดิน” ซึ่งเป็นส่วนเชื่อมโยงและประสานกัน<br />

ระหว่างทุกสิ่งบนโลก และได้ศึกษาเพิ่มเติมถึงประวัติศาสตร์<br />

ด้านธรณีวิทยาของเปลือกโลกจากหนังสือ The Origin of<br />

Continents and Oceans เขียนโดย นักธรณีวิทยาชาว<br />

เยอรมัน Alfred Lothar Wegener ผู้เขียนได้อธิบายไว้ว่า<br />

“ในอดีต โลกเคยรวมตัวกันเป็นมหาทวีป Pangea ล้อมรอบ<br />

ด้วยผืนน้ำาของ Panthalassa ต่อมาได้เคลื่อนที่แตกออกเป็น<br />

7 ทวีป 5 มหาสมุทรอย่างที่เป็นในปัจจุบัน” ทีมผู้ออกแบบ<br />

จึงได้นำาแนวความคิดนี้มาปรับใช้กับการออกแบบนิทรรศการ<br />

เพื่อคงไว้ซึ่งมุมมองของ “การเลื่อนไหล” และ “การรวมตัว”<br />

ของเปลือกโลก<br />

ทางทีมภัณฑารักษ์จึงได้แบ่งการนำาเสนอสถาปัตยกรรม<br />

ร่วมสมัยของไทยและไต้หวันออกเป็น 2 หมวดหลัก<br />

หมวดแรกกล่าวถึง “การแลกเปลี่ยนบนผืนดิน” (Ground<br />

Exchanges) โดยนำาเสนอตัวอย่างผลงานสถาปัตยกรรม<br />

ทั้งไทยและไต้หวันที่ประกอบขึ้นจาก การอยู่ร่วมกัน<br />

(Togetherness) ความศักดิ์สิทธิ์ (Ritual) ลักษณะพื้นถิ่น<br />

(Native) และการแทรกซึม (Porosity) แสดงให้เห็นถึง<br />

ทิศทางการอยู่ร่วมกันระหว่างสถาปัตยกรรมสมัยใหม่กับ<br />

ผืนดินในอนาคต หมวดที่สองแสดงตัวอย่างผลงานที่สื่อถึง<br />

“ความรู้สึกจากผืนดิน” (Feeling Grounds) โดยยกตัวอย่าง<br />

งานที่ก่อให้เกิดความเอื้อเฟื้อและเห็นอกเห็นใจผืนดิน<br />

เกิดเป็นความพิเศษ (Extra Ordinary) การหวนถึง<br />

รากเหง้า (Nostalgia) การประยุกต์ให้เข้ากับบริบท<br />

พื้นถิ่น (Vernacular) และความเชื่อมโยงแบบไร้ขอบเขต<br />

(Boundaryless) องค์ประกอบเหล่านี้เป็นสิ่งที่เชื่อมโยง<br />

สถาปัตยกรรมร่วมสมัยของไทยและไต้หวันเข้าด้วยกัน<br />

เสมือนกับชื่อของนิทรรศการ Infinity Ground—Thailand<br />

and Taiwan Contemporary Architecture<br />

Kulthida Songkittipakdee and Jenchieh (Jerry)<br />

Hung, the two founding principals of HAS alse act<br />

as the chief curator of this exhibition, discussed the<br />

initial concept of the exhibition design. HAS was<br />

initially inspired by the light that passes through<br />

the skylight of the BACC’s roof and illuminates the<br />

exhibition space on the basement level. The design<br />

team saw this as a common phenomenon in both<br />

Thai and Taiwanese architecture, such as in the<br />

church of Wat Si Chum, Sukhothai Province, and<br />

many other architectural works in Taiwan, where<br />

Jerry has noted “the land,” which is the common<br />

ground, connection, and cohesion between all<br />

things on earth. HAS also studied the geological<br />

history of the earth’s crust from the book The Origin<br />

of Continents and Oceans by German geologist<br />

Alfred Lothar Wegener, which states: “In the past,<br />

the earth was formed as a supercontinent, Pangea,<br />

surrounded by the waters of Panthalassa, and<br />

then split into the seven continents and five oceans<br />

that exist today”.<br />

Therefore, HAS has utilized this concept to create<br />

an exhibition that illustrates the perspectives of<br />

“Sliding” and “Agglomeration” of the earth’s crust.<br />

The curatorial team divides the presentation of<br />

contemporary Thai and Taiwanese architecture<br />

into two primary categories. “Ground Exchanges”<br />

showcases examples of Thai and Taiwanese<br />

architecture that incorporate Togetherness, Ritual,<br />

Native, and Porosity. It indicates the direction of<br />

coexistence between contemporary architecture<br />

and the earth of the future. As Extra Ordinary,<br />

Nostalgia, Vernacular, and Boundaryless, the<br />

second section, “Feeling Grounds,” presents a<br />

collection of works that inspire benevolence and<br />

sympathy for the earth. As suggested by the title of<br />

the exhibition, Infinity Ground: Thailand and Taiwan<br />

Contemporary Architecture, these elements are<br />

what connect Thai and Taiwanese contemporary<br />

architecture.

Hooray! Your file is uploaded and ready to be published.

Saved successfully!

Ooh no, something went wrong!