25.10.2023 Views

ASA JOURNAL 14/2023

Create successful ePaper yourself

Turn your PDF publications into a flip-book with our unique Google optimized e-Paper software.

160<br />

professional / studio<br />

1922<br />

Architects<br />

ทีมงาน 1922 Architects<br />

Songtam Srinakarin and Piangor<br />

Pattayakorn chose to establish<br />

their studio in Chiang Rai due to the<br />

remoteness of the area and the desire<br />

to create something of their own.<br />

จุดเริ ่มต้นของสตูดิโอ 1922 Architects<br />

เริ่มขึ ้นได้อย่างไร ช่วยย้อนเล่าให้ฟั งสั้น ๆ<br />

ทรงธรรม ศรีนัครินทร์: เดิมผม และคุณ-<br />

เพียงออ พัทธยากร เราทำงานอยู่ที่ Spacetime<br />

Architects กันมาก่อน หลังจากเราตัดสินใจ<br />

สร้างครอบครัวร่วมกัน ก็มีจังหวะให้ได้จับพลัด<br />

จับผลูมาเปิดสตูดิโอกันอยู่ที่เชียงราย ตอนนั้น<br />

เรามองว่า ถ้าจะมาเริ่มปักหลักอยู่ที่นี่ก็ต้องสร้าง<br />

ผลงานอะไรเป็นของตัวเอง เราก็เลย สร้างบ้าน<br />

ของเรา โดยคิดเอาไว้ว่านอกจากบ้านหลังนี้จะ<br />

เป็นผลงานให้กับเราแล้ว เราก็ยังได้ใช้พื้นที่ตรง<br />

นี้เป็นพื้นที่ในการทดลองอะไรหลาย ๆ อย่าง<br />

และไขคำตอบใน สิ่งที่เราเคยสงสัยจากที่ผ่านมา<br />

บ้านหลังนี้ก็เลยเป็นเหมือนจุด เริ่มต้นของ<br />

หลายสิ่ง ทั้งสตูดิโอ การทดลอง และการได้<br />

เริ่มร่วมงานกับผู้คนหลา ๆ ส่วน<br />

ทำไมถึงไปเปิ ดสตูดิโอที่เชียงราย ทั้ง ๆ ที่จะ<br />

เปิ ดสตูดิโออยู่กรุงเทพฯ ก็ได้<br />

ทรงธรรม ศรีนัครินทร์: ขอเกริ่นก่อนว่าผม<br />

เป็นคนจังหวัดขอนแก่น ไปเรียนอยู่เอแบค<br />

ส่วนคุณเพียงออเป็นคนจังหวัดเชียงราย ไป<br />

เรียนอยู่ศิลปากร ก็คือเราอยู่กรุงเทพฯ กัน<br />

ตั้งแต่สมัยเรียนจนจบมาทำงานหลายปีเลย<br />

ด้วยความที่เป็นคนต่างจังหวัด แน่นอนก็มี<br />

ความคิดอยากกลับไปอยู่จังหวัดบ้านเกิดของ<br />

ตัวเอง สุดท้ายก็เลยเลือกมาอยู่เชียงราย ซึ่ง<br />

เป็นบ้านเกิดของคุณเพียงออ กับอีกส่วนหนึ่ง<br />

เราก็คิดเห็นตรงกันว่าสถาปนิกก็ไม่ควรไป<br />

กระจุกตัวอยู่แค่ที่กรุงเทพฯ ถึงแม้ในเรื่องของ<br />

ค่านิยมในสายงาน ค่าแรง หรือปัจจัยอื่น ๆ ใน<br />

ต่างจังหวัดจะไม่สะดวกหรือคุ้มค่าเท่ากรุงเทพฯ<br />

แต่การที่เรากระจายตัวมาอยู่ต่างจังหวัดก็จะ<br />

เป็นการเข้ามาทำให้พื้นที่เกิดความเข้มแข็งใน<br />

เรื่องเหล่านี้ในอนาคตได้ ซึ่งสำหรับเรื่องแบบนี้<br />

ก็ต้องใช้เวลากันพอสมควร เพราะขนาด สตูดิโอ<br />

ของเรากว่าจะตกตะกอนหรือได้เริ่มมาทำงาน<br />

ของตัวเองจริง ๆ ก็ยังใช้เวลาเกือบ 7 ปีเลย<br />

แล้วการไปสร้างผลงานที่เป็ นเหมือนชิ ้นงาน<br />

ทดลองของตนเองในพื้นที่ที่อาจไม่ได้มีคน<br />

เข้าใจในสิ ่งที่เรากำลังตั้งใจจะทำมันยากไหม<br />

ทรงธรรม ศรีนัครินทร์: ถ้าถามว่ายากไหม<br />

ก็มีทั้งความโชคดีที่ทำให้การทำงานมันง่ายขึ้น<br />

และก็มีความยากในเรื่องของการพูดคุยเกี่ยวกับ<br />

ดีเทลการออกแบบปะปนกันไป ความโชคดี<br />

ที่ว่าก็คือคุณสุดาพิมพ์ ภิระบรรณ์ ซึ่งเป็น<br />

เพื่อนสถาปนิกของเราเป็นคนเชียงราย แล้ว<br />

ครอบครัวของเค้า ก็ทำงานรับเหมาอยู่ที่นี่ แต่<br />

ก็เป็นช่างรับเหมาแบบชาวบ้าน เหมือนระดม<br />

คนทั้งหมู่บ้าน มาอะไรทำนองนั้น หนึ่งในนั้น<br />

ก็จะมีสล่าไม้อยู่ แต่ก็เป็นงานไม้ทั่วไป อาจไม่<br />

ได้เข้าใจดีเทลในงานของเรามาก คือเค้าก็ทำ<br />

ตามประสบการณ์รุ่นสู่รุ่น พอมาทำงานกับเรา<br />

ก็จะมีความยากในเรื่องการเห็นภาพไม่ตรงกัน<br />

ในครั้งแรก ก็ต้องมาคุยกันให้ชัดเจนว่าอยาก<br />

ให้เค้าลองเปิดใจว่าสิ่งที่เราอยากทดลองมัน<br />

อาจไม่ใช่สิ่งที่เค้าเคยทำมาก่อน และเราเองก็<br />

ไม่รู้ว่ามันจะออกมาสำเร็จหรือเปล่าแต่เราก็<br />

อยากลองดู ตอนแรกเค้าก็ไม่เข้าใจเราเท่าไหร่<br />

จนงานมันออกมาสำเร็จแล้วได้รับคำชมจาก<br />

หลาย ๆ คน เค้าก็เริ่มมีกำลังใจ มีความภาค-<br />

ภูมิใจขึ้นมา แล้วหลังจากนั้นก็เริ่มคุยกันง่าย<br />

ขึ้นเริ่มเห็นเป็นภาพเดียวกันมากขึ้น<br />

จากตัวอย่างผลงานของ 1922 Architects<br />

ที่ผ่านมา คิดว่าตนเองคือสตูดิโอ<br />

หนึ ่ง ที่กำลังตั้งใจจะนำเสนอถึงเรื่องการใช้<br />

วัสดุจากธรรมชาติหรืองานประเภทพื้นถิ ่น<br />

เลยหรือเปล่า<br />

ทรงธรรม ศรีนัครินทร์: ส่วนตัวผมไม่ได้อิน<br />

กับความเป็นพิ่นถิ่นประเพณีอะไร ก็แค่ ชอบ<br />

บ้านไม้ชาวบ้าน ๆ ทั่วไป เราไม่ได้มีแนวทาง<br />

ที่ชัดเจนขนาดนั้น เพราะคิดว่าเป็น เรื่องของ<br />

มุมมองมากกว่าว่าโจทย์นั้น ๆ ที่ได้มาคืออะไร<br />

แล้วเราก็แสดงความคิดเห็นของเราผ่านงาน<br />

สถาปัตยกรรมลงไป สำหรับงานบ้านตัวเองที่<br />

เป็นบ้านไม้และทำงานร่วมกับสล่า อาจเป็น<br />

ส่วนหนึ่งที่ทำให้หลายคนมองภาพไปในทิศทาง<br />

นั้นว่า แนวทางของเราน่าจะเป็นแบบนั้น ซึ่ง<br />

จริง ๆ แล้ว เราแค่พยายามอยากทำงานให้<br />

เชื่อมโยงกับสิ่งแวดล้อม เราคิดเสมอว่าจะทำ<br />

ยังไงให้อาคารสร้างปัญหาให้กับสิ่งแวดล้อม<br />

น้อยที่สุด แบบที่ว่าถ้าเราตายไปแล้วมันก็จะ<br />

ไม่เป็นขยะต่อ<br />

ดังนั้นในมุมของเราคิดว่าแนวทางของพวกเรา<br />

คงเป็นการพูดถึงเรื่องความเชื่อมโยงระหว่าง<br />

คนและธรรมชาติ สถาปัตยกรรมไม่ควรเป็น<br />

เครื่องมือที่ทำให้คนแยกตัวออกจากธรรมชาติ

Hooray! Your file is uploaded and ready to be published.

Saved successfully!

Ooh no, something went wrong!