25.10.2023 Views

ASA JOURNAL 14/2023

You also want an ePaper? Increase the reach of your titles

YUMPU automatically turns print PDFs into web optimized ePapers that Google loves.

156<br />

professional<br />

11<br />

หากจะหยิบยกโปรเจกต์ใดมากล่าวถึง โปรเจกต์รีโนเวท<br />

ปั๊มน้ำมัน ปตท. ในอำเภอสารภี ระหว่างช่วงรอยต่อของ<br />

การเริ่มตั้งสตูดิโอ นับเป็นตัวอย่างที่สามารถอธิบายกรณี<br />

ข้างต้นได้อย่างพอดิบพอดีและชัดเจน ทั้งในความหมาย<br />

อย่างตรงไปตรงมา ของส่วน façade กระเบื้องมุกที่ถูก<br />

ออกแบบขึ้นใหม่ ได้สร้างเอกลักษณ์อันเด่นชัดให้แก่ปั๊ม<br />

น้ำมันแห่งนี้ และขณะเดียวกันบนภาพความโดดเด่นนั้น<br />

ก็สะท้อนสภาพพื้นที่โดยรอบพร้อมๆ กัน ราวกับกระจก<br />

ที่ส่องในทิศทางตรงกันข้ามที่สร้างพื้นที่การสะท้อนกลับ<br />

อันไร้ขอบเขต หรืออีกความหมายที่สอดแทรกภายใต้ความ<br />

เงางามและดินที่ปั้นขึ้นรูปกระเบื้องแต่ละแผ่น ซึ่งเป็นการ<br />

ทำงานผ่านกระบวนการสืบค้นข้อมูล ลงพื้นที่ ท ำงานทดลอง<br />

ร่วมกับโรงงานช่างทำกระเบื้องในพื้นที่อำเภอสารภี เพื่อ<br />

ตอบรับกับโจทย์ในการทำงานออกแบบคือ การสะท้อน<br />

ถึงความเป็นเชียงใหม่ พัชรดากล่าวเสริมว่า สำหรับเธอ<br />

การนำเสนอมุมมองความเป็นเชียงใหม่ ควรจะเป็นการ<br />

ถ่ายทอดผ่านทักษะฝีมือของคนในพื้นที่ มากกว่าการคำนึง<br />

ถึงรูปแบบการบอกเล่าด้วยรูปลักษณ์ที่ฉาบฉวยภายนอก<br />

ของสถาปัตยกรรม<br />

“วิธีการที่เราโน้มน้าวลูกค้าในการลงทุนกับวัสดุ คือ<br />

แทนที่จะเลือกใช้วัสดุอะไรก็ไม่รู้ เราก็เลือกใช้วัสดุที่<br />

อยู่ในพื้นที่ที่อยู่ในพื้นที่ใกล้เคียง ในขณะที่คนทำวัสดุ<br />

เหล่านั้นก็คือ ลูกค้าที่จะมาใช้งานปั ๊ มจริงๆ ทุกวัน อันนี้<br />

ก็คือการใช้กระบวนการออกแบบในการช่วยให้เกิด<br />

เศรษฐกิจหมุนเวียนในพื้นที่จริงๆ”<br />

ผลสืบเนื่องต่อจากนั้นโรงงานเซรามิกแห่งนี้ ก็ได้รับงาน<br />

จากสตูดิโอออกแบบหลากหลายแห่งในเวลาต่อมา กระทั่ง<br />

เปิดส่วนบริการใหม่ Raw Material เพื่อดูแลในส่วนวัสดุ<br />

แคลดดิ้งอาคาร ในขณะเดียวกันทางสตูดิโอก็ได้ชุดข้อมูล<br />

จากการค้นคว้าเกี่ยวกับกลุ่มเซรามิกและกลุ่มดินในเชิงลึก<br />

ของพื้นที่เชียงใหม่มาพร้อมๆ กัน จะเห็นได้ว่า รูปแบบ<br />

กระบวนการทำงานที่ขับเน้นที่กระบวนการค้นคว้าและ<br />

ทดลองของสตูดิโอ มักจะนำไปสู่การเข้าถึงองค์ความรู้<br />

ใหม่ๆ อีกทั้งช่วยเสริมสร้างให้เกิดการพัฒนาทั้งต่อตนเอง<br />

และผู้ร่วมงานอยู่เสมอไม่ว่าในทางตรงหรือทางอ้อม ซึ่ง<br />

ก็เป็นสิ่งที่พัชรดาพยายามเน้นย้ำถึงความต้องการในการ<br />

ขับเคลื่อนส่วนดังกล่าวให้เกิดขึ้นอยู่เสมอ<br />

“เราได้มีโอกาสทำ pavilion ของบรัษัทแผ่นลามิเนต EDL<br />

ในงานสถาปนิก ปี 2565 ที่ผ่านมา เราได้ออกแบบทำเป็น<br />

trimetric pavilion โดยคิดว่าไม่จำเป็นต้องสวย แต่ควรจะ<br />

ต้องมี message บางอย่างที่ชัดเจน เราก็คิดอย่างเรียบง่าย<br />

มากว่าเราจะไม่ทำ pavilion ที่สร้างขยะ โดยเราก็ออกแบบ<br />

โครงสร้างเป็นกล่องโปร่งในรูปแบบพื้นที่ปิด แล้วก็สล็อต<br />

แผ่นลามิเนตเข้าไปอย่างหลวมๆ โดยไม่มีการเจาะยึด หรือ<br />

แม้กระทั่งลอกสติ๊กเกอร์ออกเลย ซึ่งได้ไอเดียนี้เกิดจากการ<br />

ขนตีลังขนส่งแผ่นลามิเนต ซึ่งเราก็ไปหยิบเอาภาษาในการ<br />

ทำงานนั้นมาใช้ สุดท้ายแผ่นลามิเนตก็ไม่เสียหาย สามารถ<br />

นำไปตัดเป็นแผ่นตัวอย่าง หรือนำไปขายจริงเป็นตัวโชว์<br />

ก็ได้ และสำหรับไม้ที่เป็นโครงก็สามารถถอดออกนำไป<br />

ประกอบเป็นลังขนส่งได้จริง”<br />

ภาษาการทำงานออกแบบของสตูดิโอแห่งนี้ นอกจากจะ<br />

พยายามขับเน้นขยายส่วนของกระบวนการดำเนินงาน หรือ<br />

ธรรมชาติของความเป็นสิ่งนั้น ก่อนพลิกกลับมาน ำเสนอ ด้วย<br />

วิธีการที่คำนึงการหมุนเวียนอันไม่เสียเปล่า ในกระบวนการ<br />

เดียวกันนี้ ก็เอื้อให้สามารถสังเกตเห็นถึงความพยายามใน<br />

การนำเสนอศักยภาพความยึดหยุ่นในการดัดโค้งของวัสดุ<br />

ที่นำมาใช้งานไปในคราวเดียวกัน อีกทั้งภาษาที่คล้ายคลึง<br />

ก็ได้ปรากฏอย่างเด่นเช่นในงานออกแบบส่วนทางเดินเข้า<br />

ร้านกาแฟ Boonma ด้วยเช่นกัน

Hooray! Your file is uploaded and ready to be published.

Saved successfully!

Ooh no, something went wrong!