25.10.2023 Views

ASA JOURNAL 14/2023

Create successful ePaper yourself

Turn your PDF publications into a flip-book with our unique Google optimized e-Paper software.

166<br />

chat<br />

อาษา: ขณะนี้ฝ่ ายอนุรักษ์มีโครงการอะไร<br />

ที่อยู่ในระหว่างดำาเนินการบ้าง?<br />

วสุ โปษยะนันทน์: ถ้าหากจะให้เล่าอย่างต่อเนื่องเลย<br />

ก็จะเป็นเรื่องการมอบรางวัล ที่จะเป็นการเสนอชื่อเพื่อ<br />

ขอพระราชทานรางวัลอนุรักษ์ดีเด่น ที่แต่เดิมเลยเราเรียก<br />

กันว่างานอนุรักษ์ศิลปะสถาปัตยกรรมดีเด่น ซึ่งมีระดับที่<br />

เทียบเท่ากันทั้งหมด และเราจะมอบให้กับผู้ที่เป็นผู้ครอบ-<br />

ครองอาคารนั้นๆ โดยในรูปแบบเดิมจะเป็นเช่นนี้ ต่อมา<br />

เมื่อผมได้รับมอบหมายให้จัดการดูแลงานสถาปนิกฯ อยู่<br />

ครั้งหนึ่งนั้น ซึ่งมีธีมเน้นในเรื่องของการอนุรักษ์ “มองเก่า<br />

ให้ใหม่” เราจึงมาคิดกันต่อว่าจะทำาอย่างไรเพื่อให้งาน<br />

อนุรักษ์สามารถเป็นเรื่องที่จับต้องได้และทุกคนสามารถมี<br />

ส่วนร่วม เพราะแต่เดิมเมื่อพูดถึงการอนุรักษ์ คนก็มักจะ<br />

มองเป็นภาพของเก่าๆ ความโบราณ ที่อยู่ตรงกันข้ามกับ<br />

การพัฒนา เราจึงอยากปรับแนวความคิดในจุดนี้เสียใหม่<br />

คือการอนุรักษ์นั้นนับเป็นส่วนหนึ่งของการพัฒนาอย่าง<br />

ยั่งยืน โดยการใช้ศักยภาพของทรัพยากรให้เต็มที่และ<br />

เกิดประโยชน์สูงสุด การใช้อะไรที่มีอยู่แล้วมาปรับใช้ใน<br />

ชีวิตประจำาวันเป็นสิ่งที่ทำาได้ จึงต้องคิดว่า การอนุรักษ์<br />

ไม่ใช่เพียงแค่การแช่แข็ง เก็บเอาไว้ ห้ามเปลี่ยนแปลง<br />

ห้ามแตะต้อง แต่ท้ายที่สุดเนื่องจากเหตุการณ์การแพร่<br />

ระบาดของโควิด-19 งานจึงถูกเลื่อนออกไป เราจึงปรับ<br />

เปลี่ยนเป็นการจัดเป็นนิทรรศการบนช่องทางออนไลน์แทน<br />

พร้อมๆ ไปกับการขับเคลื่อนนโยบายมองเก่าให้ใหม่ เราก็<br />

ย้อนกลับมาพิจารณาเรื่องของการมอบรางวัลการอนุรักษ์<br />

เช่นเดียวกัน ซึ่งแต่เดิมมอบให้เพียงเจ้าของอาคาร แต่เพื่อ<br />

ที่จะช่วยให้คนส่วนใหญ่โดยเฉพาะอย่างเราที่เป็นสถาปนิก<br />

ก็สามารถที่จะทำาสิ่งเหล่านี้ได้ โดยไม่จำาเป็นต้องเป็น<br />

สถาปนิกของกรมศิลป์ สถาปนิกที่ชอบของเก่าๆ หรือ<br />

สถาปัตยกรรมไทยเท่านั้น เราจึงเพิ่มรางวัลคู่ขนานกันไป<br />

กับการมอบรางวัลข้างต้นโดยมอบให้กับสถาปนิกผู้ออกแบบ<br />

ด้วย นอกจากนั้นที่แต่เดิมรางวัลการอนุรักษ์จะมีเพียงระดับ<br />

เดียวนั้น เราก็ปรับเปลี่ยนแบ่งระดับของรางวัล ซึ่งดัดแปลง<br />

จากรูปแบบการจัดแบ่ง กฎเกณฑ์ วิธีการในการตัดสิน<br />

รางวัลของยูเนสโก ฝั่งเอเชีย-แปซิฟิก โดยเล็งเห็นว่าการ<br />

มอบรางวัลที่สอดคล้องกันจะช่วยให้เกิดการผลักดันที่<br />

ต่อเนื่องไปในระดับสากล ในปัจจุบันรางวัลการอนุรักษ์ของ<br />

สมาคมฯ จึงมีการแบ่งออกเป็นระดับต่างๆ เป็น 4 ระดับ<br />

คือระดับดีเยี่ยม ดีมาก ดี และลำาดับสุดท้ายจะเป็นการมอบ<br />

ให้กับอาคารที่อาจจะยังไม่มีการอนุรักษ์หรืออนุรักษ์ได้<br />

อย่างไม่เพียงพอ แต่อาคารนั้นมีคุณค่าหรือเป็นอาคารที่มี<br />

ความเสี่ยง โดยเราเรียกรางวัลนี้ว่า รางวัลสมควรแก่การ<br />

เผยแพร่<br />

นอกจากนั้น เราก็จะมีการมอบรางวัลเสริมแก่บุคคลและ<br />

องค์กรที่มีการประกอบกิจกรรมส่งเสริมและสนับสนุนให้<br />

เกิดประโยชน์ในการอนุรักษ์ไปพร้อมๆ กัน และในส่วน<br />

กลุ่มของอาคาร เราก็จะไม่แยกประเภทของลักษณะอาคาร<br />

ดังในอดีต รวมถึงกลุ่มสถาปัตยกรรมที่รวมกันอยู่เป็นชุมชน<br />

เราก็จะนับรวมอยู่ในประเภทเดียวกันทั้งหมด และก็จะมี<br />

อีกหนึ่งอันที่เพิ่มเข้ามาและอาจจะเป็นเอกลักษณ์สำาคัญ<br />

ที่สื่อถึงความไม่หยุดนิ่งของการอนุรักษ์ นั่นก็คือรางวัล<br />

สิ่งก่อสร้างใหม่ในบริบทอนุรักษ์ โดยอาจจะเป็นงานอาคาร<br />

ที่ปรับใช้ประโยชน์ของอาคารเก่าให้สอดคล้องกับความ<br />

ต้องการในปัจจุบัน และในการปรับฟังก์ชันใหม่ บ่อยครั้งก็<br />

จะนำาไปสู่การคิดนอกกรอบทำาให้รูปแบบพื้นที่ของอาคาร<br />

เปลี่ยนแปลงไป โดยรูปแบบของการออกแบบของใหม่ให้<br />

กลมกลืนไปกับของเก่าที่ไม่ใช่การทำาเลียนอาคารเดิมอย่าง<br />

แนบเนียนเป็นจนส่วนเดียวกัน ก็เป็นแนวทางที่เรากำาลัง<br />

ผลักดันอยู่<br />

เราจะมีการเปิ ดรับสมัครขอพระราชทานรางวัลอนุรักษ์ โดยอยาก<br />

ให้เกิดการมีส่วนร่วมทั้งในส่วนของเจ้าของอาคารและสถาปนิกที่<br />

มีส่วนร่วมในการออกแบบได้เสนอผลงานเข้ามา ซึ ่งเราก็อยากที่<br />

จะมอบกาลังใจให้กับผู้ดูแลรักษามรดกสถาปั ตยกรรมไว้เป็ น<br />

อย่างดี นอกจากนี้เรายังมีโปรเจกต์หนังสื อรวบรวมข้อมูลทาง<br />

สถาปั ตยกรรมของอาคารที่ได้รับรางวัลอนุรักษ์ โดยได้มีการเผย<br />

แพร่ออกมา ซึ ่งจะเป็ นข้อมูลเกี่ยวกับงานสถาปั ตยกรรมที่ได้รับ<br />

รางวัลในยุคแรก ๆ รวมถึงหนังสื อเกี่ยวกับการอนุรักษ์หอไตร<br />

จานวนสามเล่ม ทั้งหมดนี้สามารถอ่านและดาวน์ โหลดได้ ในรูป<br />

แบบ e-book

Hooray! Your file is uploaded and ready to be published.

Saved successfully!

Ooh no, something went wrong!