17.09.2020 Views

Total-EPC-Book=180920

Create successful ePaper yourself

Turn your PDF publications into a flip-book with our unique Google optimized e-Paper software.

65 | การจัดการข้อเรียกร้องและข้อพิพาท

9. การจัดการข้อเรียกร้อง

ข้อเรียกร้องที่มักเกิดขึ้นในสัญญาก่อสร้างโดยทั่วไป จะเป็นข้อเรียกร้องด้านการเงิน และข้อเรียกร้องด้านเวลา

แม้ว่าผู้รับจ้างอีพีซี จะต้องรับภาระความเสี่ยงในสัญญาเอง แต่การเปลี่ยนแปลง และการเพิ่มเนื้องานโดย

ผู้ว่าจ้างนั้น ผู้รับจ้างย่อมมีสิทธิได้รับการชดเชยในค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้น รวมทั้งการขยายระยะเวลาตามเหตุผล

และความเหมาะสมด้วยความเป็นธรรม

10. การจัดการข้อพิพาท

เมื่อการเรียกร้องขั้นต้นไม่ได้รับการยอมรับจากคู่สัญญา ก็มักจะน าไปสู้ความขัดแย้ง และเกิดเป็นข้อพิพาท

แนวทางในการระงับข้อพิพาท มีวิธีการระงับได้หลายวิธีดังนี้คือ

1. การเจรจา

2. การไกล่เกลี่ย

3. การชี้ขาดโดยผู้บริหารงานก่อสร้าง

4. การชี้ขาดโดยองค์กรผู้ชี้ขาด

5. การอนุญาโตตุลาการ

6. ศาล

ในสัญญาสากล FIDIC ฉบับล่าสุด แนะน าให้ระงับข้อพิพาทด้วยการป้องกัน หลีกเลี่ยง ตั้งแต่เริ่มโครงการ จะ

เรียกว่า DAAB

DAAB ย่อมาจากค าว่า Dispute Avoidance/Adjudication Board ใช้ในสัญญา FIDIC ฉบับปัจจุบัน (2017)

ไม่ว่าจะเป็นสัญญาจ้างก่อสร้างอาคารและงานโยธา ออกแบบโดยผู้ว่าจ้าง (เล่มแดง) สัญญาจ้างออกแบบและ

ก่อสร้าง (Design and Build) (เล่มเหลือง) หรือสัญญาจ้างเหมาเบ็ดเสร็จ (EPC) (เล่มสีเงิน) เป็นแนวคิดให้คน

อื่นที่เชี่ยวชาญในการก่อสร้างมาช่วย "หลีกเลี่ยง" (Avoid) และ "ตัดสิน" (Adjudicate) ปัญหาของการก่อสร้าง

ระหว่างผู้ว่าจ้าง กับ ผู้รับจ้าง

DAAB คณะผู้ชี้ขาดมีหน้าที่หลักคือ (1) ต้องมี "ข้อพิพาท" (Dispute) ให้หลีกเลี่ยงหรือให้ตัดสิน (2) ต้องเป็น

ข้อพิพาทงานก่อสร้าง พิพาทกันเรื่องอื่นไม่เกี่ยว (3) ต้องพิพาทกันระหว่างคู่สัญญานั้น

ในประเทศไทยยังไม่เป็นที่นิยม เนื่องจากคู่สัญญามักจะไม่ยอมเสียค่าใช้จ่ายตั้งแต่ยังไม่มีกรณีพิพาท อย่างไรก็

ตาม สมาคมวิศวกรที่ปรึกษาแห่งประเทศไทยได้พยายามผลักดันให้มีการใช้วิธีการหลีกเลี่ยงข้อพิพาทด้วย

วิธีการนี้

สัญญาออกแบบ จัดหา และก่อสร้าง ฉบับประสบการณ์

Hooray! Your file is uploaded and ready to be published.

Saved successfully!

Ooh no, something went wrong!