08.01.2020 Views

บ้านเรือนถิ่นไทยในช่วงเจ็ดทศวรรษ 2489-2559

Create successful ePaper yourself

Turn your PDF publications into a flip-book with our unique Google optimized e-Paper software.

ลายค่อนข้างละเอียดแสดงถึงคุณภาพและความชำนาญ<br />

ของช่างไม้ท้องถิ่น<br />

อนึ่งการสร้างบ้านไม้สองชั้นโดยทั่วไปแบบเรียบง่ายที่<br />

ไม่มีการตกแต่งด้วยลวดลายไม้ฉลุนั้นไม่ปรากฏหลักฐาน<br />

ที่จะทำให้ทราบถึงช่วงเวลาที่ชัดเจนในการก่อสร้าง<br />

ว่าสร้างขึ้นก่อน หลัง หรืออาจจะสร้างขึ้นในช่วงเวลา<br />

ใกล้เคียงกันกับบ้านไม้ฉลุลาย อย่างไรก็ดีบ้านไม้ฉลุลาย<br />

ของชนชั้นสูงนั้นย่อมมีความสะดุดตา และย่อมเป็น<br />

แรงจูงใจให้มีการเลียนแบบได้มากอย่างแน่นอน และ<br />

การที่สามัญชนนิยมสร้างบ้านไม้ฉลุลายแบบตะวันตก<br />

เลียนแบบบ้านของชนชั้นสูงนั้น ก็เป็นการสนองพระราช<br />

ปณิธานในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวที่<br />

ทรงมีพระราชประสงค์ให้คนไทยทุกคนจัดระเบียบบ้าน<br />

เรือนของตนตามแบบอย่างที่พระราชวงศ์และขุนนางชั้นสูง<br />

ได้ทำตัวอย่างนำร่องเอาไว้ เพื่อเป็นเครื่องหมายของ<br />

ความทันสมัยและความเจริญของสังคมไทย<br />

การที่งานสถาปัตยกรรมแบบตะวันตกเข้ามามี<br />

บทบาทในการปรับตัวเข้าสู่ความทันสมัยของสังคมไทย<br />

ในสมัยรัชกาลที่ 5 นั้น ที่จริงเป็นการคุกคามต่อวิถี<br />

ทางวัฒนธรรมเชิงประเพณีของไทยโดยตรง พระบาท<br />

Rama V. Because of this, the general public were able to<br />

admire his elaborately decorated mansion which would<br />

have inspired many people to imitate the style and consequently,<br />

led to its popularity which became widespread<br />

among the commoners.<br />

Apart from Bangkok, the popularity of the Gingerbread<br />

style also spread to the northern part of the country around<br />

1892 - 1897. Wongburi Mansion in Phrae province for<br />

example, was ordered built in 1897 by Maechao Buatha<br />

Mahayotpanya, the first wife of Chaoluang Phiriya<br />

Dhepavongse who was the last ruler of Phrae. Using<br />

Cantonese builders from China to undertake the work<br />

assisted by local craftsmen, construction was completed<br />

in 1900. This large western style two-storeyed mansion<br />

was painted pink and decorated with sawn-timber detailing<br />

for ventilation openings as well as along roof edges. The<br />

perforated sawn-work with floral design patterns were<br />

highly intricate and exhibited the skilled craftsmanship of<br />

the local artisans.<br />

As far as the plain two-storeyed timber houses without<br />

สมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงมีความปริวิตกว่างาน<br />

สถาปัตยกรรมแบบไทยประเพณีจะสูญไปจากสังคมไทย<br />

แต่ขณะเดียวกันก็ทรงมีพระราชดำริว่าการที่งานช่าง<br />

แบบประเพณีของไทยจะดำรงอยู่ได้ในสังคมไทย<br />

สมัยใหม่นั้นจะต้องมีการปรับตัว ฉะนั้นจะเห็นได้ว่าการ<br />

สร้างพระอารามสำคัญในรัชกาลนั้นจะมีลักษณะที่เป็นงาน<br />

แบบไทยประเพณีผสมผสานกับองค์ความรู้ทางการช่าง<br />

ของชาวตะวันตก เช่น วัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม<br />

ราชวรวิหาร วัดเบญจมบพิตรดุสิตวนาราม และวัดราชาธิวาส<br />

เป็นต้น<br />

วัดราชบพิธสถิตมหาสีมารามราชวรวิหาร สร้าง<br />

เมื่อ พ.ศ. 2412 เพื่อเป็นวัดประจำรัชกาลที่ 5 นับเป็น<br />

พระอารามหลวงสุดท้ายที่สร้างขึ้นตามประเพณีนี้ และ<br />

ได้โปรดเกล้าฯ ให้จัดองค์ประกอบของผังเชิงประเพณี<br />

อย่างสมบูรณ์ โดยการสถาปนาพระมหาเจดีย์เป็นหลัก<br />

และห้อมล้อมด้วยพระระเบียงผังกลม พระอุโบสถและ<br />

วิหารทิศ ลักษณะโดยทั่วไปเป็นแบบไทยประเพณีแต่<br />

ภายในพระอุโบสถนั้นตกแต่งเป็นแบบคล้ายนีโอโกธิค<br />

โดยออกแบบให้ผนังด้านบนระหว่างช่วงเสามีลักษณะ<br />

เป็นทรงโค้งยอดแหลม เพดานตกแต่งด้วยลวดลาย<br />

the decorative sawn-work are concerned, there is no clear<br />

evidence as to whether they appeared before, after, or<br />

around the same time as those built with the elaborate<br />

ornamentations. Nevertheless, the ornately decorated<br />

houses of the upper-class were undeniably more attractive<br />

and desirable. The fact that commoners chose to imitate<br />

the western style houses of the elite was in effect, also<br />

to comply with the king’s mandate to create orderliness.<br />

They therefore beautified their dwellings by following model<br />

examples of the nobilities and aristocrats in the process<br />

of modernization so as to help present an image of being<br />

a developed society.<br />

Because western style architecture played such<br />

an important role in the modernization process during<br />

the period of Rama V, it also posed a direct threat to<br />

traditional culture and way of life. Aware of this, the king<br />

was concerned that traditional Thai style architecture<br />

would eventually disappear altogether. To overcome such<br />

predicament, his opinion was that in order for traditional<br />

skills and craftsmanship to survive, stylistic adaptations<br />

184

Hooray! Your file is uploaded and ready to be published.

Saved successfully!

Ooh no, something went wrong!