08.01.2020 Views

บ้านเรือนถิ่นไทยในช่วงเจ็ดทศวรรษ 2489-2559

Create successful ePaper yourself

Turn your PDF publications into a flip-book with our unique Google optimized e-Paper software.

เรือนชาวมอแกน หมู่เกาะสุรินทร์<br />

MORGAN HOUSE, SURIN ISLANDS<br />

โครงสร้าง :<br />

กระท่อมของชาวมอแกนปลูกสร้างด้วยวัสดุที่หามาได้จาก<br />

ธรรมชาติซึ่งหาได้และมีอยู่ในละแวกถิ่นฐานนั้นเอง เป็นต้นว่า<br />

ท่อนไม้กลมขนาดไม่ใหญ่ใช้เป็นเสา-คาน หวายและเถาวัลย์ใช้<br />

สำหรับผูกมัดยึดโยงแทนเชือก แผ่นไม้กระดานและฟากไม้ไผ่<br />

ใช้ปูพื้น ใบค้อใช้ทำฝาและมุงหลังคา บ้างก็ใช้ใบเตยหนามเย็บ<br />

ติดกันเป็นแถวเรียกว่า “แชง” ทำเป็นฝา<br />

แนวคิดในการออกแบบโดยสังเขป<br />

มอแกนเป็นชนกลุ่มหนึ่งผู้ซึ่งใช้ภาษาตระกูลออสโตนีเซียน<br />

เชื่อกันว่าชาวมอแกนสืบเชื้อสายมาจากกลุ่มโปรโตมาเลย์<br />

(Proto Malay) และเป็นคนกลุ่มแรกๆ ที่อพยพเข้ามาอยู่ใน<br />

บริเวณแหลมมลายู ต่อมาเลือกใช้ชีวิตเดินทางเร่ร่อนไปในทะเล<br />

ทำมาหากินตามชายฝั่งทะเลและหมู่เกาะต่างๆ ทำให้เป็น<br />

ชนกลุ่มชาติพันธุ์หนึ่งที่ได้ชื่อว่าเป็นชาวเล-ชาวน้ำ ผู้มีวิถีชีวิต<br />

ผูกพันอยู่กับท้องทะเลจนได้รับการขนานนามจากคนภายนอก<br />

ว่า “ยิบซีทะเล” (Sea Gypsy) – ชนผู้เร่ร่อนไปในทะเล<br />

ชาวมอแกนใช้ชีวิตส่วนใหญ่อาศัยอยู่ในก่าบาง ซึ ่งมี<br />

ลักษณะเป็นเรือขุดเสริมกราบ ในช่วงฤดูมรสุม ชาวมอแกน<br />

หยุดการเดินทางเร่ร่อนไปในทะเลหันมาใช้ชีวิตอยู่กับที่ โดย<br />

เลือกทำเลชายหาดที่ปลอดจากคลื่นลมแรง มีแหล่งน้ำจืด<br />

อยู่ใกล้ๆ และปลอดภัยในการตั้งถิ่นฐาน ทั้งยังต้องไม่เป็น<br />

พื้นที่อัปมงคลตามความเชื่อของชาวมอแกน เช่น เป็นทาง<br />

น้ำไหลผ่าน มีตาน้ำผุด เป็นหลุมเป็นบ่อ เป็นต้น โดยชาวมอ<br />

แกนมักสร้างที่พักพิงอยู่บริเวณริมชายหาด ซึ่งเป็นตำแหน่งที่<br />

สามารถสังเกตเรือของตนเองที่จอดไว้ได้ตลอดเวลา จากนั้นได้<br />

ปลูกสร้างที่อยู่อาศัยที่ทำขึ้นอย่างง่ายๆ และเป็นของชั่วคราว<br />

โดยมอแกนยกหลังคากันแดดฝนบนก่าบางมากางบนโครง<br />

เสา-คานที่ทำจากท่อนไม้ซึ่งหาตัดเอามาจากละแวกถิ่นฐาน<br />

นั่นเอง และยึดโยงโครงสร้างส่วนต่างๆ เข้าด้วยกันด้วยหวาย<br />

หรือเถาวัลย์ ก่อเกิดเป็นเพิงพักที่มีลักษณะหลังคาจั่วตั ้ง<br />

อยู่บนเสา และมีการเพิ่มกันสาดปกป้องแดดฝน<br />

เพิงพักอันเรียบง่ายนี้คลุมพื้นที่รูปสี่เหลี่ยมขนาด<br />

กะทัดรัดเท่าๆ กับพื้นที่อยู่อาศัยในเรือก่าบาง เพราะก่อรูปขึ้น<br />

จากหลังคาจั่วผืนเดียวกัน ประกอบด้วยพื้นที่น้อยที่สุดสำหรับ<br />

การอยู่อาศัย มีที่วางกองไฟอยู่ด้านหน้าสำหรับใช้หุงหาอาหาร<br />

ให้ความอบอุ่น และป้องกันสัตว์ร้ายไปในคราวเดียวกัน มีพื้นที่<br />

วางกระบอกไม้ไผ่บรรจุน้ำจืดสำหรับใช้หุงต้มอาหารและดื่มกิน<br />

และพื้นที่นอน กล่าวได้ว่า เพิงพักของชาวมอแกนเป็นการ<br />

จำลองพื้นที่อยู่อาศัยในก่าบางมาใช้ที่ชายหาด<br />

ปีที่สร้าง<br />

Year<br />

2548<br />

(ปรับปรุง<br />

เปลี่ยนวัสดุ<br />

ทุก 5 ปี)<br />

2005<br />

with 5 years<br />

term on<br />

renewing<br />

the building<br />

materials<br />

เจ้าของ ผู้ออกแบบ พื้นที่ งบประมาณ วัสดุ ที่ตั้ง<br />

Owner Designer Area Cost Material Location<br />

นางมะตู กล้าทะเล นางมะตู กล้าทะเล - - - ไม่มีเลขบ้าน<br />

หมู่เกาะสุรินทร์<br />

ตำบลเกาะ<br />

พระทอง อำเภอ<br />

คุระบุรี จังหวัด<br />

พังงา<br />

Mrs. Matu Klatalay the owner -with 5 - - without formal<br />

years term<br />

registered<br />

on renewing<br />

the<br />

phrathong,<br />

number,<br />

Surin Islands,<br />

building<br />

Kuraburi,<br />

materials<br />

Phangnga<br />

ชื่อผู้ส่งผลงาน : นางสาวอัมพิกา อำลอย<br />

พิกัดทางภูมิศาสตร์<br />

GPS<br />

-<br />

-<br />

460

Hooray! Your file is uploaded and ready to be published.

Saved successfully!

Ooh no, something went wrong!