08.01.2020 Views

บ้านเรือนถิ่นไทยในช่วงเจ็ดทศวรรษ 2489-2559

Create successful ePaper yourself

Turn your PDF publications into a flip-book with our unique Google optimized e-Paper software.

บ้านกันตะบุตร<br />

KANTABUTR’S HOUSE<br />

เป็นบ้านที่มีลักษณะเรียบง่าย ผังพื้นอาคารเป็นรูปตัวยู เว้น<br />

ช่องว่างส่วนกลางไว้เพื่อเป็นลานปลูกต้นไม้ และเพราะเป็น<br />

บ้านใต้ถุนสูง บรรยากาศจึงโปร่งสบายด้วยลมที่พัดผ่านตลอด<br />

เวลา บันไดทางขึ้นอยู่นอกตัวบ้าน พื้นผิวของอาคารเป็นกรวด<br />

ล้างจึงไม่จำเป็นต้องทาสี<br />

บ้านหลังนี้เกือบทั้งหมดวางอยู่บนเสา และมีบันไดทาง<br />

ขึ้นชั้นบนอยู่นอกตัวบ้านคล้ายเรือนไทยสมัยก่อนที่มีใต้ถุนสูง<br />

ทำให้บ้านโปร่งไม่อึดอัด สามารถมองทิวทัศน์โดยรอบได้ตลอด<br />

ห้องชั ้นบนใช้หน้าต่างกระจก ขึงผ้าใบเป็นม่านอยู่ภายนอกมี<br />

ราวไม้กั้นตรงช่วงบนและล่างไม่ให้ลมพัดตีผ้าใบ แดดแรงก็เอา<br />

ผ้าใบลง อยากชมวิวก็ชักผ้าใบขึ้น ผ้าใบเก่าก็เปลี่ยนได้ ไม่ต้อง<br />

ตีไม้ระแนงบังแดด<br />

บ้านหลังนี้ออกแบบโดยต้องการให้แสดงถึงสัจจภาวะที่<br />

แสดงให้เห็นว่า มนุษย์เรานั้นเพียงแค่มีบ้านสักหลังที่ไม่ต้อง<br />

ตกแต่งหรูหรามากมายก็สามารถดำเนินชีวิตอยู่ได้อย่างมี<br />

ความสุขแล้ว<br />

บ้านหลังนี้ สถาปนิกเลือกหลักการออกแบบที่มีการยึดถือ<br />

ระบบระเบียบของพิกัดเป็นหลักการขั้นพื้นฐาน สนองประโยชน์<br />

แก่ชีวิตการอยู่อาศัยของครอบครัวและมิตรที่มาเยี่ยมเยียนตาม<br />

โอกาส ชั้นล่างส่วนใหญ่เป็นลักษณะของใต้ถุนโล่ง โดยพื้นที่<br />

ใช้สอยที่จำเป็นต้องมีผนังกั้น จะถูกกำหนดให้อยู่บนชั้นสองเป็น<br />

ส่วนใหญ่ มีลักษณะเป็น court house ทุกเนื้อที่ ทั้งใต้ถุนและ<br />

ชั้นบนจะมองเห็นและสัมพันธ์กันกับสวนใน court กลางบ้าน<br />

สถาปนิกคิดว่าเหมาะสมสำหรับบ้านในเมืองที่สร้างบนเนื้อที่<br />

จำกัด ห้องพักอาศัยจัดไว้อยู่ชั้นสอง เพื่อทัศนวิสัยที่กว้างไกล<br />

โดยรอบและยังพ้นจากความเดือดร้อนอันเนื่องมาจากน้ำท่วม<br />

อาคารหลังนี้คำนึงถึง วัสดุ แรงงาน วิธีการก่อสร้างและเครื่อง<br />

มือก่อสร้างที่มีอยู่ในบ้านเมืองของเรา ผสานเข้ากับความคิด<br />

ความเข้าใจของสถาปนิกในบริบท ณ ขณะนั้น ผนังอาคาร<br />

โดยรอบ ใช้อิฐ C.M.กลวงที่มีความหนาตามพิกัด 15 เซนติเมตร<br />

เพื่อผลในการช่วยให้บ้านเย็นขึ้น รูปแบบตามลักษณะทาง<br />

เรขาคณิตที่ให้ผลในการควบคุมการทรงตัวของอาคารได้<br />

ชัดเจนกว่ารูปลักษณะอื่นๆที ่อยู่นอกเหนือกฎเกณฑ์ทาง<br />

เรขาคณิต โดยมีวัตถุประสงค์ที่จะทำให้ Mass และ Space ของ<br />

อาคาร มีความสัมพันธ์กับ Gravity Force อย่างแยกกันไม่ออก<br />

This house was simply planned with U-shape plan with<br />

the center part as open garden court. With raisedbased<br />

style it bring good ventilation and coziness to the<br />

house. With finishing of exposed aggregate finishing,<br />

the house needed no painting job.<br />

Almost all house areas are on columns with entrance<br />

stairs style like Thai traditional house. Therefore the<br />

viewpoint of the house is endless. With glass paneled<br />

windows, and exterior blinds canvas , views all around<br />

are very visible.<br />

This house were designed to display the motto of<br />

living sufficiently as human with one simple house is<br />

all humankind needed.<br />

Designed with coordinate system, this house<br />

functions to make it resident and guests happy. Lower<br />

ground were mostly open area of raised-based. Most<br />

of the enclosed room are in the upper level. It has<br />

court house style, where every area is connected or<br />

visible to the main court of the house. The architect<br />

sees suitable for limited space of urban house, all<br />

residents areas are on the upper level to have further<br />

viewpoint and far from flooding problem.<br />

This building were designed on the concern of<br />

material, labor, and construction practice on hand,<br />

together with the architect’s through and understanding<br />

of that period. Therefore, all walls were C.M.bricks of<br />

15 cm. thickness with hollow core designed to reduce<br />

the heat collecting of the house. And they used basic<br />

geometry shapes for better control of building balance<br />

as to balance the building Mass & Space with the<br />

Gravity Force.<br />

494

Hooray! Your file is uploaded and ready to be published.

Saved successfully!

Ooh no, something went wrong!