08.01.2020 Views

บ้านเรือนถิ่นไทยในช่วงเจ็ดทศวรรษ 2489-2559

You also want an ePaper? Increase the reach of your titles

YUMPU automatically turns print PDFs into web optimized ePapers that Google loves.

(Frank Lloyd Wright) สถาปนิกชาวอเมริกันที่มีชื่อเสียง<br />

ไปทั่วโลก บ้านสไตล์แพรรี่นิยมใช้หลังคาปั้นหยาลาดชัน<br />

น้อยและยื่นชายคายาว โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเน้น<br />

ให้ตัวบ้านมีรูปทรงแผ่ราบตามแนวนอนให้กลมกลืน<br />

กับภูมิประเทศของที่ราบทุ่งหญ้าแพรรี่อันกว้างใหญ่<br />

อันเป็นบริบทที่ตั้งของบ้านที่ไรต์ออกแบบ รูปแบบบ้าน<br />

ที่ว่านี้สอดคล้องเป็นอย่างดีกับภูมิอากาศร้อนชื้นในไทย<br />

ที่ต้องการการกันแดดและการกันฝนรอบด้าน กระเบื้อง<br />

หลังคาคอนกรีตวิบูลย์ศรีช่วยให้บ้านตามสไตล์ของไรต์<br />

ได้รับความนิยมอย่างแพร่หลายในต้นรัชกาลที่ 9<br />

รูปทรงหลังคาที่มีความลาดน้อยลงเริ่มเป็นที่นิยม<br />

มากขึ้นเมื่อกระแสสถาปัตยกรรมสมัยใหม่ยุคต้นอีกแนวทาง<br />

หนึ่งเริ่มแพร่หลายในประเทศไทย ในเวลาไล่เลี่ยกัน<br />

สถาปัตยกรรมสมัยใหม่ที่ว่านี้มีชื่อเรียกว่า สถาปัตยกรรม<br />

แนวสากลนิยม (International Style) โดยมีลักษณะที่<br />

สำคัญคือ เน้นความเรียบง่าย ไร้การตกแต่งประดับประดา<br />

เน้นความบางเบาที่เกิดจากระบบโครงสร้างเสาและคาน<br />

ที่มาแทนที่ระบบผนังรับน้ำหนักในอดีต เน้นช่องเปิด<br />

ที่มีขนาดใหญ่ และรูปลักษณ์สถาปัตยกรรมอื่นๆ ซึ่งไม่<br />

เคยทำได้ในอดีต ด้วยข้อจำกัดของวัสดุและเทคโนโลยี<br />

pitch to be much lower went together well with the<br />

new modern house style from the West in the early<br />

20th century; it was the Prairie style, introduced by<br />

Frank Lloyd Wright, the world renowned American<br />

architect. The Prairie style house had a low pitch hip<br />

roof with overhanging eaves. The horizontally<br />

expanded house harmonised with the vast Prairie<br />

where it was located. This Prairie house was<br />

remarkably suitable for Thailand where full protection<br />

of sunlight and rain are much needed. With Wiboonsri<br />

roof tiles, Wright’s style houses became very famous<br />

in the beginning of King Rama IX’s reign.<br />

Low-pitched roofs became more popular in Thailand<br />

as a new architectural trend was growing. This<br />

new style was the International style which emphasized<br />

on simplicity, rejection of ornament, lightweight<br />

effect created by the use of columns and beams<br />

instead of load-bearing walls, huge openings, and all<br />

other forms of architecture which had never happened<br />

การก่อสร้างของเวลานั้น<br />

รูปทรงหลังคาที่มีความลาดลดลงจากรูปแบบหลังคา<br />

บ้านสไตล์แพรรี่ของไรต์ เกิดขึ้นได้ด้วยพัฒนาการของ<br />

กระเบื้องหลังคาชนิดใหม่ที่ผลิตจากกระเบื้องแผ่นเรียบ<br />

ใยหิน (Asbestos fibre-reinforced cement board) หรือ<br />

แผ่นอีเทอร์นิต ที่เคยกล่าวถึงก่อนหน้า ด้วยคุณสมบัติ<br />

ของซีเมนต์เสริมใยหินที่สามารถผลิตให้เป็นวัสดุแผ่นเรียบ<br />

ที่มีขนาดใหญ่ถึง 1.20 x 2.40 เมตร และหนาได้น้อย<br />

ที่สุดเพียง 6 มิลลิเมตร ทำให้วัสดุแผ่นเรียบอีเทอร์นิตนี้<br />

มีชื่อเรียกที่แพร่หลายมากกว่าในเวลาต่อมาว่า “กระเบื้อง<br />

กระดาษ” เพราะมีลักษณะบางเหมือนแผ่นกระดาษนั่นเอง<br />

กระเบื้องกระดาษถูกนำมาพัฒนาเป็นวัสดุมุงหลังคาที่<br />

มีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้นอย่างมาก ด้วยการนำวัสดุซีเมนต์<br />

เสริมใยหินที่เป็นแผ่นบางนี้มารีดขึ้นรูปในระหว่างการผลิต<br />

ให้เป็นลอนโค้งขึ้นและเว้าลงสลับกันไปทั้งแผ่น การทำ<br />

ลอนนี้ช่วยให้ขนาดของแผ่นหลังคาแต่ละชิ้นมีขนาดใหญ่<br />

ได้ถึง 50 x 120 เซนติเมตร สำหรับความหนาแผ่นเพียง<br />

6 มิลลิเมตร ช่วยให้ระยะห่างของระแนงหรือแปที่รองรับ<br />

แผ่นหลังคากว้างได้ถึง 1 เมตร เพิ่มขึ้นจากระยะระแนง<br />

ของกระเบื้องหลังคาคอนกรีตถึงสามเท่า ในขณะที่ลอน<br />

before in the past due to the limitations of materials<br />

and construction technology.<br />

After Wright’s Prairie style roof, lower pitch roofs<br />

were made possible by a new type of tiles which<br />

derived its quality from the asbestos fibre-reinforced<br />

cement board or the Eternit board mentioned above.<br />

With its fibre-reinforced quality which enabled the<br />

production of 1.2x2.4 m flat boards with the minimum<br />

thickness of 6mm, as thin as paper; Eternit boards<br />

were then known as paper tiles.<br />

These paper tiles were further developed into a<br />

more advanced roofing material. The thin<br />

fibre-reinforced cement boards were put into the roll<br />

forming machines to create a series of ridges and<br />

furrows all through the sheets. As they became<br />

corrugated, the size of each tile could be as big as<br />

50x120 cm with the thickness of only 6mm. Hence<br />

the gap between each supporting batten or purlin<br />

could be widened as far as 1 metre, three times<br />

258

Hooray! Your file is uploaded and ready to be published.

Saved successfully!

Ooh no, something went wrong!