08.01.2020 Views

บ้านเรือนถิ่นไทยในช่วงเจ็ดทศวรรษ 2489-2559

Create successful ePaper yourself

Turn your PDF publications into a flip-book with our unique Google optimized e-Paper software.

นายทหารและปัญญาชนกลุ่มหนึ่งได้ถูกจับกุมเสียก่อน<br />

และได้ถูกศาลทหารตัดสินประหารชีวิต แต่พระบาทสมเด็จ<br />

พระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ทรงพระราชทานอภัยโทษ<br />

โดยละเว้นโทษประหารชีวิต อย่างไรก็ดีการคุกคามต่อ<br />

ความมั่นคงของสถาบันกษัตริย์ดังกล่าวน่าจะเป็นเหตุผล<br />

สำคัญที่ทำให้ทรงใช้นโยบาย “ชาตินิยม” มาเป็นเครื่องมือ<br />

ขับเคลื่อนในทางการเมืองการปกครองในรัชสมัย<br />

นโยบายชาตินิยมในพระราชดำรินั้นเป็นการรวม<br />

อุดมการณ์ “ธรรมิกราชา” ซึ่งเป็นนโยบายในพระบาท<br />

สมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกที่เป็นการเกื้อหนุนกัน<br />

ระหว่างสถาบันกษัตริย์และสถาบันพุทธศาสนา ผสม<br />

ผสานกันกับแนวคิด “รัฐชาติ” ของพระบาทสมเด็จ<br />

พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งทรงให้คำนิยาม “รัฐชาติ”<br />

ว่าหมายถึง “รัฐ (บ้านเมือง) ที่ประกอบด้วยประชาชน<br />

ที่อาศัยอยู่ในเขตแดนที่กำหนด และมีความสวามิภักดิ์<br />

ต่อผู้มีอำนาจสูงสุดคนเดียวกัน” ซึ่งจะเห็นได้ว่าแนวคิด<br />

รัฐชาติในสมัยรัชกาลที่ 5 นั้นยังเน้นอำนาจสูงสุดของ<br />

พระมหากษัตริย์ (แต่ก็ทรงแสดงความใกล้ชิดกับราษฎร<br />

เช่น การเสด็จประพาสต้น) ส่วนราษฎรนั้นเป็นผู้อยู่ภายใต้<br />

อำนาจการปกครอง<br />

wanted to see changes towards more people-involvement<br />

in the governing process. This opposition was widespread<br />

and particularly apparent during the time of Rama V and<br />

VI, when revolutions took place in several countries to<br />

abolish the monarchial system. For example, the Turkish<br />

Revolution in 1908, the Chinese Revolution led by Dr. Sun<br />

Yat Sen in 1911, and the Russian Revolution that brought<br />

an end to the Romanovs rule in 1917, to name the more<br />

prominent ones.<br />

In Siam, there was also an attempt to change the<br />

governing system in 1912, known as “Kabot Ror Sor 130”<br />

(Ror Sor 130 Rebellion). The attempt, conspired by a group<br />

of high ranking military officers together with a number of<br />

academic intellectuals however, was unsuccessful and<br />

conspirators were arrested and sentenced to be executed.<br />

The king however, issued a royal pardon and lifted the<br />

execution sentence. The growing threat to the monarchial<br />

institution could be said to have been the major incentive<br />

for Rama VI to impose “Nationalism” as a political strategy<br />

during his reign.<br />

สำหรับแนวคิดชาตินิยมในรัชสมัยพระบาทสมเด็จ<br />

พระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวนั้นมีบริบทที่แสดงความทันสมัยขึ้น<br />

โดยมีองค์ประกอบสำคัญคือ ชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์<br />

แต่ที่แสดงความเป็นรัฐสมบูรณาญาสิทธิราชย์สมัยใหม่<br />

ก็คือ การที่พระมหากษัตริย์ทรงยอมรับบทบาทหน้าที่<br />

ของคนไทยในฐานะที่เป็นพื้นฐานของความเจริญของชาติ<br />

ทรงมีพระบรมราชาธิบายว่า ราษฎรไทยจะต้องรักชาติ<br />

มีศรัทธาในพุทธศาสนา และมีความจงรักภักดีใน<br />

พระมหากษัตริย์ หากคนไทยปฏิบัติตนดังนี้แล้วก็เท่ากับ<br />

เป็นการร่วมมือร่วมใจกันเพื่อทำให้ชาติมีความเจริญ<br />

ก้าวหน้า ขณะเดียวกันแนวคิดดังกล่าวนั้นก็เป็นการ<br />

ตอกย ้ำถึงการรักษาความมั่นคงของรัฐชาติไทยภายใต้<br />

ระบอบการปกครองแบบสมบูรณาญาสิทธิราชย์นั่นเอง<br />

และนอกจากแนวคิดชาตินิยมที่เป็นเชิงอุดมการณ์แล้ว<br />

รูปธรรมที่สำคัญของแนวคิดนี้ก็คือ การที่ได้โปรดเกล้าฯ<br />

พระราชทานธงไตรรงค์ใน พ.ศ. 2460 เพื่อเป็นสัญลักษณ์<br />

ของชาติ ตลอดจนอุดมการณ์ ชาติ ศาสนา และ<br />

พระมหากษัตริย์<br />

พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงมี<br />

พระราชดำริว่า “ชาติไทย” นั้นหมายถึง คณะคนไทย<br />

The king’s “Nationalism” policy revolved around<br />

the concept of “Dharmikaraj” which was based on the<br />

combination of Rama I’s policy to establish mutual support<br />

between the monarchy and the Buddhist institution, and<br />

Rama V’s idea of a “Nation State” which was defined as<br />

“A state comprising of people that inhabit the area within<br />

the boundary of its territory and share common allegiance<br />

and loyalty to one who has absolute authority.” This idea<br />

of a Nation State clearly emphasized that the king had<br />

absolute authority. Yet at the same time, Rama V also<br />

demonstrated his close affinity with the people during his<br />

visits on royal expeditions to various places and seeing to<br />

their welfare since they were, by default, subjects under<br />

his ruling power.<br />

As for the concept of Nationalism during the reign<br />

of Rama VI, it was intended to reflect the image of being<br />

modern, and comprised of three key institutions which are<br />

Nation, Religion and Monarchy. But what actually constituted<br />

the modern absolute monarchial state was the fact that<br />

the monarchy gave recognition to the role of the people<br />

187

Hooray! Your file is uploaded and ready to be published.

Saved successfully!

Ooh no, something went wrong!