08.01.2020 Views

บ้านเรือนถิ่นไทยในช่วงเจ็ดทศวรรษ 2489-2559

You also want an ePaper? Increase the reach of your titles

YUMPU automatically turns print PDFs into web optimized ePapers that Google loves.

แยกประเภทไม้ และทำการประกอบบ้านไม้ขึ้นมาใหม่ โดย<br />

เริ่มจากการแยกประเภทไม้จากบ้านเดิม ได้แก่ ไม้โครงสร้าง<br />

หลังคา เสา โครงเคร่าผนัง ไม้ฝา ตงและคานพื้น ไม้แผ่นพื้น<br />

ชุดบันได ประตูและหน้าต่าง<br />

การออกแบบบ้านจากไม้เก่า สิ่งแรกๆ ที่มองเห็นว่าจะ<br />

นำไปใช้ได้คือ ประตูและหน้าต่าง โดยที่ช่างสามารถถอดบาน<br />

ประตูพร้อมวงกบ และชุดบานหน้าต่างพร้อมวงกบ มาวางเรียง<br />

ให้สามารถจินตนาการได้ว่าจะนำไปใช้ในส่วนไหนของบ้านที่<br />

สร้างใหม่ การผสมผสานโครงสร้างคอนกรีตเสริมเหล็กกับ<br />

โครงสร้างไม้ ก็เป็นอีกสิ่งหนึ่งที่ต้องจัดสรรพื้นที่ให้ดี โดยบ้าน<br />

หลังนี้เลือกที่จะใช้ส่วนที่เป็นห้องน้ำทั้งชั้นล่างและชั้นบนเป็น<br />

โครงสร้างคอนกรีตเสริมเหล็ก รวมถึงส่วนครัวเพื่อเป็นวัสดุกัน<br />

ไฟให้กับบ้าน สำหรับส่วนพื้นห้องนั่งเล่น, ระเบียงชั้นล่าง, ห้อง<br />

นอน, ห้องพระบนชั้นสอง เลือกที่จะใช้โครงสร้างพื้นไม้เพื่อที่จะ<br />

ได้แสดงความสวยงามของโครงสร้างไม้ ซึ่งพื้นที่ของโครงสร้าง<br />

ไม้ได้จากการคำนวณปริมาณของพื้นไม้ในบ้านใหม่ให้ใกล้เคียง<br />

กับบ้านเดิม จะได้ไม้โครงสร้างที่มีความสมบูรณ์มาก เนื่องจาก<br />

เป็นส่วนที่ไม่โดนสภาพอากาศทำลายเสาไม้ของบ้านเดิมมี<br />

ความพิเศษคือเป็นไม้ยาวท่อนเดียวตั้งแต่พื้นถึงหลังคา แต่<br />

โครงสร้างของบ้านใหม่ในส่วนที่เป็นบ้านสองชั้นนั้น ชั้นล่าง<br />

จะเป็นเสาคอนกรีตเสริมเหล็ก แล้วจึงค่อยต่อเสาไม้ในชั้นสอง<br />

จึงจำเป็นที่จะต้องตัดเสาออกไปบ้าง แต่ก็ได้เลือกใช้เสาต้นที่<br />

สมบูรณ์มาไว้ในส่วนที่เป็นระเบียง สำหรับในส่วนบ้านชั้นเดียว<br />

นั้นก็ใช้เสาไม้วางบนพื้นคอนกรีตได้เลย<br />

โครงเคร่าไม้ขนาด 1” x 3” หรือที่เรียกว่าไม้หน้าสามนั้น<br />

เป็นเหมือนไม้เอนกประสงค์ที่ใช้เป็นส่วนประกอบของโครง<br />

ต่างๆของบ้าน โครงเคร่าของบ้านเดิมก็นำมาตัดต่อใช้เป็น<br />

โครงเคร่าของบ้านใหม่ได้อย่างง่ายดายแทบไม่เหลือเศษ<br />

ส่วนไม้ฝาของบ้านเป็นส่วนที่รื้อออกมาแล้วเสียหายมากที่สุด<br />

เนื่องจากเป็นไม้แผ่นบาง โดนความชื้นและแดดตลอดอายุการ<br />

ใช้งาน รวมถึงมีปลวกเป็นบางจุด แผ่นที่รื้อออกมาสมบูรณ์ก็จะ<br />

นำไปตีเป็นไม้ฝาเหมือนเดิม ส่วนบางแผ่นที่รื้อออกมาเป็นแผ่น<br />

ที่เล็กลงก็ยังนำไปทำเป็นฝ้าชายคาได้และเนื่องจากพื้นที่ผนัง<br />

ของบ้านใหม่มีพื้นที่มากกว่าบ้านเดิม ทำให้ต้องซื้อไม้หน้าสาม<br />

เป็นโครงเคร่า และไม้ฝาเพิ่มบางส่วน ซึ่งเป็นไม้สักจากป่าปลูก<br />

The old 1”x3” frame woods were calculated and<br />

used as framing for the new house with almost no<br />

waste. Wall panels were the most damaged due to<br />

moisture, sunlight, and termites. The ones in good<br />

condition were reused as wall panels. Those that had<br />

to be trimmed smaller were used as soffits.<br />

Why the name Jitsaman (Unified souls)?<br />

It’s from the names of two owners, granny Yenjit<br />

and grandpa Saman. Although they’re no longer<br />

around, the children still feel that this house is the<br />

evidence of their hard work. The eldest sister said<br />

she wants this house to be a haven for everyone in<br />

the family. That’s why they call this house “Jitsaman”.<br />

ที่มาของชื่อ จิตสมาน<br />

เป็นการรวมกันของชื่อเจ้าของบ้าน คือ คุณยายเย็นจิต<br />

และ คุณตาสมาน พันธุ์แก้ว ถึงแม้ว่าทั้งคุณยายและคุณตาจะ<br />

ไม่ได้อยู่กับพวกเราแล้ว ลูกๆ และหลานๆ ต่างก็เห็นว่าบ้านหลัง<br />

นี้เป็นเสมือน สิ่งที่บอกถึงความพากเพียรของท่านทั้งสองคน<br />

พี่สาวคนโตอยากให้บ้านหลังนี้เป็นที่พักพิง แบ่งปันความอบอุ่น<br />

ของครอบครัว สมาชิกครอบครัวจึงร่วมกันตั้งชื่อบ้านหลังใหม่<br />

นี้ว่า “จิตสมาน”<br />

476

Hooray! Your file is uploaded and ready to be published.

Saved successfully!

Ooh no, something went wrong!